dziloverclub.orgfree.com   
Get free counter at Cgi2yoU.com  
 [27/01/52]   

HOME •นาาสาระ •รายการสินค้า •วิธิการสั่งซื้อ-ชำะเงิน •Web Board • Free Download •ติดต่อเรา

 
ปี่เซี่ย
ประวัติศาสตร์ทิเบต

     ก่อนคริสต์ศักราช ชนชาติทิเบตอาศัยอยู่ที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตมีัการไปมาหาสู่กันกับชนชาติฮั่นที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินใหญ่จีน ผ่านระยะเวลาอันยาวนาน เผ่าชนต่างๆของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบตก็ค่อยๆรวมกันเป็นเอกภาพ และกลายเป็นชนชาติทิเบตในปัจจุัับัน
     ต้นครัสต์ศตวรรษที่ 7 สภาพแบ่งแยกปั่นป่วนในภูมิภาคกลางของจีนที่ดำเนินมาเป็นเวลานาน 300 กว่าปีได้สิ้นสุดลง ขณะเดียวกัน วีรบุรุษซงจั้นกัน ปู้ของชนชาติทิเบตได้สถาปนาราชวงค์ถู่ปัวอย่างเป็นทางการขึ้น และตั้งเมืองหลวงที่นครลาซา ในช่วงปกครองประเทศ กษัตริย์ซงจั้นกันปู้ได้ศึกษาเทคโนโลยีทางการผลิตและผลงานทางการเมืองและวัฒนธรรมที่ทันสมัยของราชวงค์ถัง และมีความสัมพันธ์ฉันมิตรในด้านต่างๆกับราชวงค์ถังไม่ว่าจะเป็น ด้านการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม
     ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 13 หลังจากทิเบตได้รวมเข้าเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของจีนเป็นต้นมา แม้ว่าจีนจะมีหลายราชวงค์ที่ผลัดเปลี่ยนกับขึ้นปกครองประเทศ และเปลี่ยนอำนาจรัฐหลายครั้ง แต่ทิเบตก็อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลกลางมาโดยตลอดไม่ว่าราชวงค์ไหน
     หลังจากราชวงค์ชิงได้สถาปนาขึ้นในปี พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการปกครองควบคุมทิเบตอย่างใกล้ชิด ทำให้อำนาจการบริหารปกครองของรัฐบาลกลาง เป็นไปอย่างมีระบบระเบียบยิ่งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2270 (ค.ศ. 1727) ราชวงค์ชิงได้ส่งเสนาบดีไปประจำทิเบต เพื่อเป็นตัวแทนของส่วนกลางกำกับดูแลกิจกรรมบริหารส่วนท้องถิ่นของทิเบต
เมื่อปี พ.ศ. 2501 จีนบุกเข้าทิเบตและก่อตั้งเขตปกครองพิเศษขึ้น

ผู้นำทางจิตวิญญาณและผู้นำสูงสุดของชาวทิเบตคือ องค์ทะไลลามะ องค์ปัจจุบัน

 
 
 เขตปกครองตนเองทิเบต

     เขตปกครองตนเองทิเบต หรือ ธิเบต (ทิเบต:โบด์; จีน:ซีจ้าง) เป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน มีเชื้อสายมาจากชาวอินเดีย ชาวทิเบต มีพระเป็นผู้นำของเขตปกครองพิเศษนี้ ชนพวกนี้ นับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยาน คล้ายกับประเทศภูฏาน ทิเบต ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย เป็นที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก จนได้รับฉายาว่า หลังคาโลก ทิเบตมีอากาศที่หนาวเย็นมาก และความกดอากาศต่ำ ฉะนั้น ผู้ที่จะเข้ามาในทิเบต ร่างกายจะต้องปรับสภาพกันก่อน
พลเมืองชายของทิเบตกว่าครึ่งบวชเป็นพระ ก่อนจีนจะยึดครองทิเบต ทิเบตมีสามเณริกามากที่สุดในโลก ในทิเบตเคยมีคัมภีร์มากมาย พลเมืองนับถือศาสนาอย่างเคร่งครัด จนได้รับฉายาว่า "แดนแห่งพระธรรม" (land of dharma) ก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้ามาสู่ทิเบต

ทิเบตมีเมืองหลวงชื่อ ลาซา (Lhasa)
 
 
 ที่ตั้งและอาณาเขต
แผนที่ทิเบต

     แผนที่ทิเบต

เขตปกครองตนเองทิเบตมีพื้นที่ติดต่อดังนี้
  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ เขตปกครองตนเองชินเจียงอุยกูร์และมณฑลชิงไห่ (ประเทศจีน)
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ประเทศเนปาล ประเทศภูฏาน มณฑลยูนนาน (ประเทศจีน) รัฐกะฉิ่น ประเทศพม่า รัฐอัสสัม รัฐนาคาแลนด์ ประเทศอินเดีย) ซึ่งในปัจจุบัน บริเวณที่มีเขตติดต่อกับประเทศอินเดียนี้ ยังเป็นบริเวณพื้นที่พิพาทระหว่างจีนและอินเดีย ซึ่งทางอินเดียได้อ้างกรรมสิทธิ์เข้ามาปกครอง และเรียกดินแดนบริเวณนี้ว่า อรุณาจัลประเทศ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ มณฑลเสฉวน (ประเทศจีน)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ รัฐชัมมูและแคชเมียร์ (ประเทศอินเดีย) และ ประเทศปากีสถาน
 
 พุทธศาสนาในทิเบต

     ดินแดนทิเบต มีความรุ่งเรืองทางพุทธศาสนามากในอดีต พุทธศาสนาในทิเบตมีเอกลักษณ์เฉพาะคือเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน ได้รับอิทธิพลจากพุทธศานานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น ประชาชนใฝ่ธรรมะ เมื่อมีงานบุญ ประชาชนจะเดินทางไปแสวงบุญแม้จะไกลสักเพียงใด ซึ่งปัจจุบันก็มีให้เห็นอยู่มากมาย แต่เมื่อตกอยู่ในการปกครองของจีนวัดนับพันแห่งทั่วนครลาซา เหลือไม่ถึงหนึ่งร้อยแห่งในปัจจุบัน จนแทบไม่เหลือความเจริญรุ่งเรืองในอดีต

 

     ลักษณะเฉพาะ   พุทธศาสนาในทิเบตเป็นแบบมหายานเน้นทางวัชรยานและตันตระ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ภิกษุถือปาติโมกข์ ตามนิกายมูลสรวาสติวาท มีสิกขาบท 253 ข้อ มีความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าต่างจากนิกายเถรวาทคือ นับถือพระธยานิพุทธะ 5 พระองค์ ได้แก่ พระไวโรจนะพุทธะ พระอักโษภยะพุทธะ พระอมิตาภะพุทธะ พระอโมฆสิทธิพุทธะ และ พระรัตนสัมภวะพุทธะ นอกจากนี้ยังนับถือพระโพธิสัตว์อีกหลายพระองค์ เช่น พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์และพระชายาคือพระนางตารา พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ และพระวัชรปาณิโพธิสัตว์ เป็นต้น
ลักษณะเด่นอื่นๆของพุทธศาสนาในทิเบตได้แก่ ลามะ ตรรกวิภาษ และการปฏิบัติแบบตันตระ

 

     ลามะ    คำว่าลามะหมายถึงอาจารย์ ในการปฏิบัติธรรมในทิเบต ให้ความสำคัญกับอาจารย์มาก โดยความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับศิษย์มีผลต่อความสำเร็จของศิษย์ในการปฏิบัติตามสายตันตระ โดยถือว่าลามะเป็นตัวแทนของพระพุทธองค์ โดยเมื่อกล่าวสรณคมน์ ศิษย์จะระลึกถึงลามะเป็นที่พึ่งด้วย

 

     ตรรกวิภาษ    เป็นการโต้วาทีทางธรรมโดยใช้หลักตรรกะ เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักธรรมในพุทธศาสนาดีขึ้น ขจัดความเห็นผิด วิธีการของตรรกวิภาษจะประกอบด้วยผู้ถามและผู้ตอบ ก่อนเริ่มต้นทั้ง 2 ฝ่ายจะสวดมนต์บูชาพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ที่ถือว่าเป็นพระโพธิสัตว์แห่งปัญญาจากนั้นจึงเริ่มถามตอบ

 

     การปฏิบัติแบบตันตระ    เป็นการฝึกจิตเพื่อให้จิตอยู่ในสภาวะประภัสสร เพื่อเข้าถึงศูนยตา การปฏิบัติตามแบบตันตระแบ่งเป็น 4 ขั้น คือ
  • กริยาตันตระ ให้ความสำคัญกับท่ามุทราต่างๆ และการท่องมนต์
  • จรรยาตันตระ ให้ความสำคัญกับท่าทางไปพร้อมๆกับการฝึกจิต เน้นการทำสมาธิ เข้าเงียบ
  • โยคะตันตระ เน้นการฝึกภายในมากกว่าท่าทางภายนอก
  • อนุตรโยคะตันตระ เน้นการฝึกจิตภายในอย่างเดียว เพื่อเข้าถึงรากฐานของจิตประภัสสร โดยขับพลังหยาบของจิตออกไป ซึ่งจะทำให้เข้าถึงศูนยตาในที่สุด
 
สินค้าแนะนำ
XXXXX
จี้ห้อยคอหยกแกะสลักรูปเจ้าแม่กวนอิม
      ฿ XXXX Bth     

HOME    นานาสาระ     รายการสินค้า    วิธิการสั่งซื้อ - ชำะเงิน  •  Web Board  •  Free Download  •  About

COPYRIGHT © SMILEMANNODE. ALL RIGHTS RESERVED.
Free Web Hosting